วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ระบบบัส (Bus System)




ระบบบัส (BUS System)

   คือเส้นทางที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นระบบเดียวกัน ทั้งภายในแผงวงจรหลัก และอุปกรณ์ที่อยู่บน Slot ของระบบบัสส่วนเชื่อมโยงต่างๆ ส่วนประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยวงจรทางไฟฟ้า ที่เรียกว่าระบบบัส
บัสที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์คือ ชุดของการเชื่อมต่อแบบขนานอย่างง่าย ซึ่งมีอยู่บนแผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนการควบคุมต่าง ๆ


ส่วนประกอบของระบบบัส

•เส้นทาง หมายถึง เส้นทางที่ข้อมูลเดินผ่าน ส่วนใหญ่จะสังเกตเป็นเส้นบนเมนบอร์ด
•ชิปควบคุม ทาหน้าที่ บริหารการเข้าใช้บัสของชิ้นส่วนต่าง ๆ และทา หน้าที่ป้องกันปัญหา ขัดแย้ง เนื่องจากการแย่งใช้บัสในเวลาเดียวกัน
•สล็อตต่อขยาย อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าระบบบัสไม่ใช่แค่สื่อสารระหว่างชิ้นส่วนภายในเครื่องพีซีเท่านั้น ยังสื่อสารกับการ์ดเสริม

ผลของความเร็วบัส

           เนื่องจากบัสเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์ เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์กับแรม แรมกับฮาร์ดดิสก์ แรมกับการ์ดต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นความเร็วของบัสก็มีผลกับความเร็ว โดยรวมของไมโครคอมพิวเตอร์ ยิ่งบัสมีความเร็วสูงเท่าใดและมีจานวนบิตมากขึ้นเท่าใด ก็จะทา ให้เครื่องคอมพิวเตอร์เร็วขึ้น (แต่ไม่ได้เป็นแบบเชิงเส้น) แต่ทั้งนี้ข้อจากัดของความเร็วบัสยังขึ้นอยู่กับสัญญาณรบกวน (Noise) เพราะยิ่งบัสใช้ความเร็ว (ความถี่ของสัญญาณนาฬิกาของบัส) สูงขึ้นเท่าใดสัญญาณรบกวนก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น



อุปกรณ์ที่ได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงความเร็วบัส
• หน่วยความจา หลัก (RAM)
• External Static RAM (แคชบนเมนบอร์ด)
• การ์ดควบคุมการแสดงผล (VGA Card)
• การ์ดเพิ่มขยาย
• ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
• ชิปเซต (Chipset)


ประเภทของบัส
  โดยทั่วไป ระบบบัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ บัสรองรับข้อมูล (address bus) , บัสควบคุม(Control bus) , และ บัสข้อมูล (Data bus)




บัสรองรับข้อมูล (Address bus)

ในระบบที่ใช้ซีพียูรุ่น 8088 หรือ 8086 จะมีแอดเดรสบัสขนาด 20 เส้นเท่ากับ แอดเดรสบัสของ ซีพียู ซึ่งสามารถอ้างตาแหน่งได้เท่ากับ 220 ตาแหน่ง (บัสแต่ละเส้นมีข้อมูลที่เป็นไปได้คือ 0 และ 1) หรือ 1 MB ความสามารถในการอ้างถึงตาแหน่งในหน่วยความจาของซีพียูขึ้นอยู่กับตัว ซีพียู ตัวนั้นๆเช่น 80286 มีแอดเดรสบัส 24 เส้น สามารถอ้างได้ 16 MB หรือ 80386DX,80486 มีแอดเดรสบัสขนาด 32 เส้นทาให้อ้างได้ถึง 4 GB และในรุ่น Pentium จะมี Address Bus เป็น 36 เส้น ซึ่งอ้างอิงตาแหน่งได้เท่ากับ 236 ตาแหน่ง

บัสข้อมูล (Data bus)

เป็นส่วนที่นาข้อมูลส่งไปยังที่ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูล จะเร็วมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความกว้างของเส้นทางส่งข้อมูลเช่นกัน สาหรับระบบที่ใช้ ซีพียู 8088 มีความกว้างของดาต้าบัสเพียง 8 บิท 8086 มีดาต้าบัสขนาด 16 บิท Pentium จะมีความกว้างของดาต้าบัสขนาด 64 บิท
บัสควบคุม (Control bus)

เป็นส่วนที่นาคาสั่งควบคุม และ คาสั่งสาหรับติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ โดย บัสควบคุมนี้ จะทาหน้าที่ควบคุมการทางาน และกิจกรรมที่เกิดขึ้น ในส่วนต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์


ตัวอย่างการทำงานของบัส



การทำงานของบัส

เมื่อ BUS เป็นเส้นทางการส่งข้อมูลที่เป็นสัญญานไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นก็จะมี วงจร สาหรับควบคุมการทางานของระบบ BUS เรียกว่า BUS Controller ซึ่งในอดีต มี Chip IC ที่ทาหน้าที่นี้โดยตรงแยกออกไป ในปัจจุบัน ได้มีการ รวมวงจรควบคุม BUS นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ BUS นี้จะทาหน้าที่ จัดช่องสัญญานประเภทต่างๆให้ทางานร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดให้กับอุปกรณ์ที่ร้องขอใช้งาน เช่น CPU , อุปกรณ์ I/O , Port ต่างๆ เป็นต้น

โครงสร้างการทางานของระบบบัสภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบันนั้น โดยทั่วไปได้มีการแบ่งการทางานออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

ระดับที่ 1 Host Bus
ระดับที่ 2 PCI Bus
ระดับที่ 3 ISA Bus

Host Bus คือ จะทาหน้าที่ควบคุมการสื่อสาร การส่งถ่ายข้อมูล และควบคุมการทรานแอกชั่นข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโปรเซสเซอร์ (CPU) ของระบบ และ ตัวควบคุม PCI ในส่วนที่ทาหน้าที่เป็น North Bridge ซึ่งมีอัตราการทรานแอกชั่นข้อมูลที่มีความเร็วสูงมาก ซึ่งอุปกรณ์ที่ทางานร่วมกับโปรเซสเซอร์ใน North Bridge คือหน่วยความจา Cache และหน่วยความจาหลักของระบบ ซึ่งควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลจะเกิดขึ้นภายใน Chip Set ทาหน้าที่ควบคุม North Bridge


Fibre Channel Host Bus Adapter (64-bit PCI-Xcard)


SCSI Host Bus Adapter (16-bit ISA card)



PCI Bus (Peripheral Component Interconnect)
คือทาหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ I/O ต่างๆ ที่มีการเชื่อมต่อตามมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ PCI ซึ่งอุปกรณ์ในระบบ PCI เมื่อจะทาการติดต่อกับ Processor หรือระบบหน่วยความจาที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ North Bridge ซึ่งจะควบคุมการส่งผ่านข้อมูล และ จานวนทรานแอกชั่นของข้อมูลให้มีความเร็วที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ โดย Chip Set จะทาหน้าที่ควบคุมในส่วนนี้เช่นกัน เนื่องจากความช้าเร็วในการส่งข้อมูลและ ทรานแอกชั่นระหว่าง Host Bus และ PCI Bus จะไม่เท่ากันจึงต้องมีการจัดข้อมูลดีๆ




A typical 32-bit, 5 V-only PCI card, in this case, a SCSI adapter from Adaptec.

ISA Bus (Industry Standard Architecture)
หน้าที่เชื่อมต่อกับ I/O ต่างๆ ที่มีการเชื่อมต่อมาตรฐาน ISA ซึ่งอุปกรณ์ที่มีการต่อแบบ ISA ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน อีกหลายชนิด และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อแบบ ISA จะมีความเร็วต่าที่สุดของภายในระบบ ดังนั้นการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือ การทาทรานแอกชั่นของข้อมูลจะช้า และ ต้องติดต่อกับ Chip Set ที่ทาหน้าที่ควบคุมในส่วนนี้ ซึ่งถูกเรียกว่า South Bridge เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการเสียหายของข้อมูลในขณะที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ I/O ที่ความเร็วสูงกว่า และนอกจาก South Bridge ยังมีหน่วยวบคุมอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบด้วย เช่น ระบบอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อแบบ IDE หรือระบบมัลติมีเดีย เป็นต้น



บัส (BUS) จากที่เคยได้กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ทาการประมวลผลและเก็บข้อมูลเป็นชุดของบิท (มีค่า 0 กับ 1) นั้น ชุดของบิทจะถูกส่งไปในวงจรไฟฟ้าตามช่องทางต่างๆ ซึ่งแต่ละช่องทางนั้น เราเรียกว่า บัส ซึ่งเป็นเส้นทางที่ทาให้อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งภายนอก ภายใน สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้ คล้ายกับเป็นถนนให้รถวิ่งจากจุดหนึ่งไปยังเป้าหมายได้ นั่นก็คือ บิทวิ่งไปตามบัสนั่นเอง บัสจะส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับเข้าไปยังหน่วยความจา จากห่วยความจาไปยังหน่วยประมวลผล จากหย่วนประมวลผลไปยังหน่วยความจา และจากหน่วยความจาไปยังอุปกรณ์ส่งออก หรือ หน่วยความจาสารอง เช่น ฮาร์ดดิสก์
บัสประกอบด้วย 2 ส่วน คือ บัสข้อมูลและบัสที่อยู่ บัสข้อมูลจะส่งข้อมูลจริงๆ ส่วนบัสที่อยู่จะส่งข้อมูลเกี่ยวกับตาแหน่งที่ข้อมูลควรจะอยู่ในหน่วยความจา

ส่วนที่ 1 ขนาดของบัส สามารถวัดได้เป็นความกว้างบัส ซึ่งเป็นตัวระบุจานวนบิทที่คอมพิวเตอร์สามารถส่งได้ในแต่ละครั้ง เช่น บัสที่มีขนาด 32 บิท (32-bit bus) จะสามารถส่งข้อมูลได้ 32 บิท หรือ 4 ไบท์ในแต่ละครั้ง ถ้าเราต้องการส่งข้อมูล 8 บิท โดยใช้บัสขนาดนี้ ก็จะต้องแบ่งส่ง 2 ครั้งด้วยกัน แต่ถ้าเราใช้บัสที่มีขนาด 64 บิท ก็จะสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งหมดภายในครั้งเดียว

ส่วนที่ 2 บัสจะมีสัญญาณนาฬิกาเช่นเดียวกับหน่วยประมวลผล ซึ่งผู้ผลิตกาหนดให้สัญญาณนาฬิกามีความถี่เป็นเฮิร์ต (hertz หรือ Hz) คาว่าเมกะเฮิร์ต (MHz) คือสัญญาณนาฬิกา (ติ๊ก) 1 ล้านครั้งใน 1 วินาที ในปัจจุบันส่วนใหญ่ หน่วยประมวลจะมีสัญญาณนาฬิกา ประมาณ 400, 533, 800 MHz ยิ่งค่าสัญญาณนาฬิกาสูงเท่าไหร่ ความเร็วในการส่งข็อมูลก็มากเท่านั้น

คอมพิวเตอร์มีบัสอยู่ 2 ชนิด ดังนี้

บัสระบบ (system bus) เป็นส่วนหนึ่งเมนบอร์ด หรือแผงวงจรหลัก บัสระบบทาหน้าที่เป็นเส้นทางต่อระหว่างหน่วยประมวลผลกับหน่วยความจา ส่วนบัสเสริมเป็นบัสที่ทาให้หน่วยประมวลสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ได้ ส่วนใหญ่ที่มีการอ้างถึง บัส เฉยๆ จะหมายถึง บัสระบบ

บัสเสริม (expansion bus) จะทาให้อุปกรณ์ภายนอกระบบสามารถติดต่อกับหน่วยประมวลผลได้ อุปกรณ์ต่อพ่วงจะต่อเข้ากับพอร์ต ซึ่งพอร์ตจะต่ออยู่บน ช่องเสริม (expansion slot) ซึ่งช่องเสริมนี้จะต่อกับ บัสเสริมเพื่อส่งข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผล รูปข้างล่างนี้เป็นรูปของการส่งข้อมูลระหว่างหน่วยประมวลผล หน่วยความจา อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ผ่านทางบัสระบบ และบัสเสริม บัสเสริมบนเมนบอร์ดมีหลายชนิด แต่ละชนิดบ่งบอกถึงชนิดของการ์ดที่ต่างๆ ที่ต่ออย่บนคอมพิวเตอร์ ได้แก่ บัส ISA, บัส PCI, บัส AGP, บัส USB และบัสไฟร์ไวร์

สายบัสแบ่งได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้
1.สายไฟฟ้า (POWER LINE) จะให้พลังไฟฟ้ากับการ์ดขยายต่างๆ

2.สายควบคุม (CONTROL LINE) ใช้สาหรับส่งผ่านสัญญาณเวลา (TIMING SIGNS) จาก นาฬิกาขอระบบ และส่งสัญญาณอินเตอร์รัพต์

3.สายแอดเดรส (ADDRESS LINE) ข้อมูลใดๆที่จะถูกส่งผ่านไป แอดเดรสเป้าหมายจะถูกส่งมาตามสายข้อมูลและบอกให้ตาแหน่งรับข้อมูล (แอดเดรส) รู้ว่าจะมีข้อมูลบางอย่างพร้อมที่จะส่งมาให้

4. สายข้อมูล (DATA LINE) ไมโครเมตรจะตรวจสอบว่ามีสัญญาณแสดงความพร้อมหรือยัง (บนสาย I/O CHANNEL READY) เมื่อทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ข้อมูลก็จะถูกส่งผ่านไปตามสายข้อมูล จานวนสายที่ระบุถึงแอดเดรสของบัส หมายถึง จานวนของหน่วยความจาที่อ้างแอดเดรสได้ทั้งหมด

ระบบบัสแบบต่างๆ

เป็นสถาปัตยกรรมที่ทาให้ข้อมูลไหลได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล้ว ระหว่างจุดหมายปลายทางทั้งสอง การเปรียบเทียบ บัสข้อมูลกับไฮเวย์จะเห็นภาพได้ชัดในขณะที่ไฮเวย์มีช่องทางมากก็จะให้รถไปได้มาก ดังนั้นบัสที่กว้างกว่าก็สามารถรับข้อมูลได้มากกว่า เมื่อช่องทางของไฮเวย์วัดเป็นช่องทาง บัสอุปกรณ์พ่วงต่อของพีซีก็วัดเป็นบิต เช่น พีซีเก่า หรือ XT จะใช้บัสแบบ 8 บิต ก็คือข้อมูลจะเคลื่อนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ภายในเครื่องพีซี รุ่นเก่าได้ 8 บิตต่อครั้ง

The.Professional.[Rattaket]

Author & Editor

Has laoreet percipitur ad. Vide interesset in mei, no his legimus verterem. Et nostrum imperdiet appellantur usu, mnesarchum referrentur id vim.

1 ความคิดเห็น :

  1. ระบบเครือข่ายที่มีความเร็วมากที่่สุดคือระบบใด

    ตอบลบ

 
biz.